วันพฤหัสบดีที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2553

ทฤษฎีการเรียนรู้ของวัตสัน

ทฤษฎีการเรียนรู้ของวัตสัน (Watson’s Behaviorism)
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical Conditioning Theory)
แนวคิดของวัตสัน
- แนวคิดเกี่ยวกับอิทธิพลของสิ่งแวดล้อม
- แนวคิดเกี่ยวกับอารมณ์พื้นฐานของมนุษย์
คนเราเกิดมาจะมีปฏิกิริยาทางอารมณ์ที่ติดตัวมาโดยไม่ต้องเรียนรู้อยู่ 3 อย่าง คือ
1. ความกลัว
2. ความโกรธ
3. ความรักการทดลองของวัตสัน
การทดลองของวัตสัน
วัตสันได้ทำการทดลองเกี่ยวกับการเรียนรู้ของคน โดยใช้เด็กชาย Albert อายุประมาณ 2 ขวบ โดยที่เขาให้ข้อสังเกตว่า โดยธรรมชาติแล้วเด็กๆจะกลัวเสียงที่ดังขึ้นมาอย่างกะทันหัน จุดประสงค์ของการทดลองคือการให้ Albert กลัวหนูขาว ในช่วงของการทดลองเขาปล่อยให้ Albert เล่นกับหนูขาว ขณะที่ Albert เอื่อมมือจะจับหนู Watson ใช้ค้อนตีเหล็กเสียงดังสนั่น เด็กแสดงอาการตกใจกลัว หลังจากนั้น เด็กแสดงอาการกลัวหนู ถึงแม้จะไม่ได้ยินเสียงฆ้องตีดังๆ ก็ตาม ในสถานการณ์เช่นนี้เด็กเกิดการเรียนรู้ชนิดเชื่อมโยงระหว่างเสียงดัง ซึ่งทำให้เด็กเกิดความกลัวขึ้นตามธรรมชาติกับหนู
จากการทดลองของวัตสันปรากฏว่า Albert มิได้กลัวแต่เพียงหนูเท่านั้น แต่จะกลัวสัตว์มีขนทุกชนิด รวมทั้งเสื่อที่มีขนด้วย ความสำเร็จครั้งนี้ของวัตสัน ทำให้เขาคิดว่าเขาจะสามารถควบคุมพฤติกรรมทุกชนิดของคนได้ สามารถที่จะให้ใคร

เป็นอะไรก็ได้ทั้งนั้นโดยมิต้องคำนึงถึงสติปัญญา และความสามารถ
Watsonได้แก้ความกลัวของอัลเบิร์ตโดยได้ให้มารดาของหนูน้อยอัลเบิร์ตอุ้มในขณะนักจิตวิทยานำหนูขาวมาให้อัลเบิร์ตจับ ตอนแรกอัลเบิร์ตจะร้องไห้เพราะความกลัวแต่หลังจากแม่พยายามปลอบว่าไม่น่ากลัวอะไรพร้อมเอามือจับหนูขาวลูบตัวหนูขาวอยู่จนกระทั่งในที่สุดอัลเบิร์ตหายกลัวหนูขาว สามารถเอามือแตะหนูขาวได้ หลักการอันนี้เรียกว่า Counter Conditioning
ซึ่งภายหลังจิตแพทย์ชื่อโวลเพ (Wolpe) ได้นำวิธีการนี้มาใช้รักษาคนไข้ที่มีความกลัวในสิ่งแปลกๆ โวลเพผู้นี้ได้ชื่อว่าเป็นบิดาพฤติกรรมบำบัด (Behavioral Therapy)(Wolpe,1969)
จากการทดลอง Watson สรุปเป็นทฤษฎีการเรียนรู้ได้ดังนี้
1. พฤติกรรมเป็นสิ่งที่สามารถควบคุมให้เกิดขึ้นได้ โดยการควบคุมสิ่งเร้า ที่วางเงื่อนไขให้สัมพันธ์กับสิ่งเร้าตามธรรมชาติและการเรียนรู้จะคงทนถาวร หากมีการให้สิ่งเร้าที่สัมพันธ์กันนั้นควบคู่กันไปอย่างสม่ำเสมอ
2. เมื่อสามารถทำให้เกิดพฤติกรรมใดๆได้ก็สามารถลดพฤติกรรมนั้นให้หายไปได้
หลักการเรียนรู้ของวัตสัน
หลักการการเรียนรู้ของวัตสัน ซึ่งเป็นการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค คือ การใช้สิ่งเร้าสองสิ่งคู่กัน สิ่งเร้าที่มีการวางเงื่อนไข (CS) กับสิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไข (UCS) เพื่อให้เกิดการตอบสนองที่ต้องการ คือการเรียนรู้นั่นเองและการที่จะทราบว่า การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคได้ผลหรือไม่ ก็คือการตัดสิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไข (UCS) อย่างเดียวออกให้เหลือแต่สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข (CS) ถ้ายังมีการตอบสนองเหมือนเดิมที่ยังมีสิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไขอยู่ แสดงว่าการวางเงื่อนไขได้ผล
การประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้
การนำหลักการเรียนรู้ของทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์หรือการแก้ปัญหาบางอย่างในการเรียนการสอนได้ ด้วยการสร้างพฤติกรรมต่างๆ ที่พึงประสงค์ให้แก่เด็กได้ เช่น การสร้างพฤติกรรมกล้าพูดกล้าแสดงออก การสอนเด็กให้พูดจาไพเราะ การให้เด็กขยันทำการบ้าน ฯลฯ
3.ทักษะทางปัญญา
- ฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ของความแตกต่างของนักวิทยาศาสตร์แต่ละคน
- มีความสามารถในการนำไปใช้กับการเรียนรู้
4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
- มีความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำเสนอและผู้ฟังที่ดี
- สร้างมิตรภาพที่ดี
5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
- มีการเรียนการสอนโดยใช้สื่อ PowerPoint
- พัฒนาทักษะการสืบค้นข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต

การนำไปประยุกต์ใช้
- สามารถนำมาประยุกต์ในการเรียนการสอนของเราได้ดี
- เป็นสื่อในการประยุกต์กับรายวิชาอื่นๆได้
ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ
- ควรที่จะมีตัวอย่างเสริมความเข้าใจให้มากกว่านี้
- มีการนำเสนอที่ติดๆขัดๆซึ่งเป็นปัญหาในการเรียนรู้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น